วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ขนมไทย คืออะไร ?

ขนมไทย  คืออะไร?



เอกลักษณ์ของขนมไทย
ขนมไทย มี เอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยคือ มีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำ ที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทานที่ปราณีตบรรจงของขนมแต่ละชนิด ซึ่งยังแตกต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้นๆ





ความหมายของขนมไทย

ขนมไทย 
หมายถึง ของว่างหรืออาหารรองท้องของชาวไทย จัดอยู่ในประเภทอาหารคาวอาหารหวาน
ซึ่งมีให้เลือกหลากรูปแบบนานาชนิด จุดกำเนิดของขนมไทยคือการรวมตัวของวัฒนธรรมนานาชาติ
ในตั้งแต่สมัยโบราณจนเกิดเป็นขนมไทยขึ้น จนในยุคปัจจุบันก็ยังมีข้อพิพากษ์เรื่องขนมไทย จริงๆแล้ว
เป็นแนวคิดของคนไทยรึเปล่า แต่ถ้าหากดูใช้เจนแล้วด้วยความรวมตัวผสมผสานความเป็นชาติต่างๆ
ในสากลโลกแล้ว นั่นแหละคือความเป็นไทยที่ชัดเจนที่สุด 

THAI DESSERT 
noun
the sweet course eaten at the end of a meal : a dessert of chocolate mousse.
ORIGIN mid 16th cent.: from French, past participle of desservir ‘clear the table,’ from des- (expressing removal) + servir ‘to serve.’
ประเภทของขนมไทย
แบ่งตามวิธีการทำให้สุกได้ดังนี้

  • ขนม ที่ทำให้สุกด้วยการกวน ส่วนมากใช้กระทะทอง กวนตั้งแต่เป็นน้ำเหลวใสจนงวด แล้วเทใส่พิมพ์หรือถาดเมื่อเย็นจึงตัดเป็นชิ้น เช่น ตะโก้ ขนมลืมกลืน ขนมเปียกปูน ขนมศิลาอ่อน และผลไม้กวนต่างๆ รวมถึง ข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวแก้ว และกะละแม
  • ขนม ที่ทำให้สุกด้วยการนึ่ง ใช้ลังถึง บางชนิดเทส่วนผสมใส่ถ้วยตะไลแล้วนึ่ง บางชนิดใส่ถาดหรือพิมพ์ บางชนิดห่อด้วยใบตองหรือใบมะพร้าว เช่น ช่อม่วง ขนมชั้น ข้าวต้มผัด สาลี่อ่อน สังขยา ขนมกล้วย ขนมตาล ขนมใส่ไส้ ขนมเทียน ขนมน้ำดอกไม้
  • ขนม ที่ทำให้สุกด้วยการเชื่อม เป็นการใส่ส่วนผสมลงในน้ำเชื่อมที่กำลังเดือดจนสุก ได้แก่ ทองหยอด ทองหยิบ ฝอยทอง เม็ดขนุน กล้วยเชื่อม จาวตาลเชื่อม
  • ขนม ที่ทำให้สุกด้วยการทอด เป็นการใส่ส่วนผสมลงในกระทะที่มีน้ำมันร้อนๆ จนสุก เช่น กล้วยทอด ข้าวเม่าทอด ขนมกง ขนมค้างคาว ขนมฝักบัว ขนมนางเล็ด
  • ขนม ที่ทำให้สุกด้วยการนึ่งหรืออบ ได้แก่ ขนมหม้อแกง ขนมหน้านวล ขนมกลีบลำดวน ขนมทองม้วน สาลี่แข็ง ขนมจ่ามงกุฏ นอกจากนี้ อาจรวม ขนมครก ขนมเบื้อง ขนมดอกลำเจียกที่ใช้ความร้อนบนเตาไว้ในกลุ่มนี้ด้วย
  • ขนม ที่ทำให้สุกด้วยการต้ม ขนมประเภทนี้จะใช้หม้อหรือกระทะต้มน้ำให้เดือด ใส่ขนมลงไปจนสุกแล้วตักขึ้น นำมาคลุกหรือโรยมะพร้าว ได้แก่ ขนมถั่วแปบ ขนมต้ม ขนมเหนียว ขนมเรไร นอกจากนี้ยังรวมขนมประเภทน้ำ ที่นิยมนำมาต้มกับกะทิ หรือใส่แป้งผสมเป็นขนมเปียก และขนมที่กินกับน้ำเชื่อมและน้ำกะทิ เช่น กล้วยบวชชี มันแกงบวด สาคูเปียก ลอดช่อง ซ่าหริ่ม






ข้อสรุปเรื่องความหมายและเอกลักษณ์ของขนมไทย

      ขนมไทยเป็นส่วนนึงที่แสดงค่าความเป็นชาตินิยมของไทย เราคนไทยจึงควรหันกลับมาอนุรักษ์รักษาความเป็นไทย ด้วยการเริ่มจากการศึกที่มาของขนมไทย และรู้จักขั้นตอนกันทำ ส่วนผสม และสอนต่อลูกหลานชาวไทยสืบต่อกันไปหัวข้อของบล๊อคนี้ได้พูดถึงความรู้จาก หนังสือและการสอบถามความคิดเห็นจากคนที่รับประทานขนมไทยมากันซึ่งก็พบว่าจาก การสำรวจบุคคลทั่วไปนั้นมีค่านิยมในการบริโภคขนมไทยยังคงน้อยอยู่ เพราะด้วยความที่จุดจำหน่ายและบรรจุภัณ ยังไม่มีความน่าสนใจพอที่จะให้ซื้อ เท่าขนมเคก หรือขนมจากต่างชาติ  
   ดังนั้นดิฉันในฐานะคนสำรวจข่้อมูลเหล่านี้ จึงอยากบอกถึงความเป็นมาของขนมไทย และความน่าทึ่งของขนมไทยให้กับคนที่สนใจ ได้เข้ามาศึกษาข้อมูลการวิจัยนี้ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และร่วมกันสานต่อความเป็นไทย ด้วยการเห็นคุณค่าของขนมไทยพร้อมกลับมาบริโภคสินค้าไทย ให้เศรษฐกืิจไทยได้หมุนเวียนนั้นเองค่ะ

ลูกชุบ

 ลูกชุบ

 

อุปกรณ์
        - เครื่องปั่น กระทะทองเหลือง

    วัตถุดิบ
        1. ถั่วเขียวซีกเลาะเปลือกนึ่งสุก 150 ก. (แช่น้ำ 1 คืน)
        2. สีผสมอาหารสีแดง 1 ช้อนโต๊ะ
        3. สีผสมอาหารสีเขียว 1 ช้อนโต๊ะ 
        4. สีผสมอาหารสีส้ม 1 
ช้อนโต๊ะ 
        5. น้ำตาลทราย 130 ก.
        6. ผงวุ้น 25 ก.
        7. น้ำเปล่า 1 ลิตร
        8. กะทิ 250 มล.
        9. กลิ่นมะลิ 1/2 ช้อนชา
        10. ใบของต้นแก้ว 1/2 ถ้วย
    * ส่วนผสมสำหรับ 40 ชิ้น
    เวลาในการทำประมาณ 90 นาที




วิธีการทำ
1. นำถั่วนิ่มสุก กะทิ น้ำตาลทราย ปั่นรวมกันจนละเอียด จากนั้นนำไปกวนในกระทะทองเหลือง ด้วยไฟอ่อน จนสวนผสมเริ่มแห้ง  พักไว้ให้เย็น
2. ปั้นให้เป็นรูปทรงผลไม้ตามชอบ จากนั้นทาสีให้สวยงาม พักไว้ 10 นาทีเพื่อให้สีแห้ง
3. ผสมผงวุ้น น้ำเปล่า คนให้เข้ากัน พักไว้ 5 นาที ให้ผงวุ้นดูดซึมน้ำให้เต็มที่ เปิดไฟแรงให้น้ำเดือด จากนั้นลดไฟลงอ่อนๆ
4. นำขนมลูกชุบที่ระบายสีแล้วลงชุบในน้ำวุ้นเคลือบให้ทั่วขนม พักไว้ 5 นาที จากนั้นชุบวุ้นใหม่อีกครั้ง (ชุบ 3 รอบ
5. เมื่อขนมลูกชุบเคลือบวุ้นทั่วดีแล้ว ตกแต่งให้สวยงามด้วยใบของต้นแก้ว เป็นอันเสร็จ

ขนมชั้น

ขนมชั้น



ส่วนผสม
หัวกะทิ 4 ถ้วย
น้ำตาลทราย 3 ถ้วย
น้ำลอยดอกมะลิ 1 ถ้วย
แป้งถั่วเขียว 2 ช้อนโต๊ะ
แป้งท้าวยายม่อม 1 ถ้วย
แป้งข้าวเจ้า 2 ช้อนโต๊ะ
แป้งมัน 2 ถ้วย
ใบเตย 10 ใบ คั้นน้ำข้น ๆ
วิธีทำ
1. เชื่อมน้ำเชื่อมโดยใช้น้ำ 1 ถ้วย น้ำตาลทราย 3 ถ้วย
2. ผสมแป้งทั้ง 4 ชนิด เข้าด้วยกัน แล้วนวดกับกะทิ โดยค่อย ๆ ใส่กะทิทีละน้อย ๆ นวดนาน ๆ จนกะทิหมด แล้วใส่น้ำเชื่อมคนให้เข้ากัน พอให้แป้งติดหลังมือนิดหน่อย
3. กรองแป้งทั้งหมด แล้วแบ่งแป้งครึ่งหนึ่งเป็นสีขาว อีกครึ่งหนึ่งใส่ใบเตยหรือสีตามชอบ
4. นำถาดไปนึ่งแล้วทาน้ำมันให้ทั่ว ใส่แป้งสีขาวประมาณ 1/2 ถ้วย แล้วนึ่งให้สุกประมาณ 5 นาที ชั้นที่ 2 ใส่สีเขียว แล้วนึ่งอีกประมาณ 5 นาที ทำเช่นนี้ไปจนหมดแป้ง แล้วให้ชั้นสุดท้ายเป็นสีเข้มกว่าชั้นอื่น ๆ เมื่อสุกยกลงทิ้งให้เย็น แล้วตัดเป็นชิ้นตามต้องการ



ขนมกล้วย

ขนมกล้วย


ส่วนผสม
 
* กล้วยน้ำว้า 8 - 10 ลูก (ปอกเปลือกและบดให้เละ)
* แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วยตวง
* แป้งมัน 1/4 ถ้วยตวง
* น้ำตาล 1 1/4 ถ้วยตวง
* เกลือป่น 1/2 ช้่อนชา
* หัวกะทิ 1/2 ถ้วยตวง
* เนื้อมะพร้าวขูด 2 ถ้วยตวง

 วิธีทำทีละขั้นตอน 
1. นำกล้วย, แป้งข้าวเจ้า, แป้งมัน, น้ำตาล, เกลือ, หัวกะทิ และ เนื้อมะพร้าวขูด (ประมาณ 3/4 ส่วนของทั้งหมด) ผสมกัน จากนั้นนวดด้วยมือจนเข้ากันเป็นเนื้อเดียว
2. ตักส่วนผสมในข้อหนึ่งลงในถ้วยหรือแบบที่ต้องการ หรือจะใช้ใบตองห่อก็ได้ แล้วแต่ความสะดวก เสร็จแล้วนำเนื้อมะพร้าวขูดที่เหลือโรยหน้า
3. นำไปนึ่งประมาณ 30 นาที หรืออาจนำไปอบโดยใช้ความร้อนประมาณ 180 องศาเซลเซียส (360 องศาฟาเรนไฮต์) เป็นเวลา 30 นาทีเช่นกัน
4. เมื่อขนมกล้วยสุกแล้ว ให้นำออกจากแบบ สามารถเสริฟได้ทั้งขณะร้อนหรือเย็นแล้ว








กระยาสารท

 กระยาสารท
วัตถุดิบและสัดส่วน:
1. ข้าวตอก 1 ½ กิโลกรัม
2. ถั่วลิสง 6 กิโลกรัม
3. งาขาวคั่ว 5 กิโลกรัม
4. ข้าวเม่า 12 กิโลกรัม
5. แบะแซ 8 กิโลกรัม
6. น้ำตาลปี๊บ 15 กิโลกรัม
7. กะทิ 12 กิโลกรัม
ขั้นตอนการปรุง:
1. นำถั่วลิสง งา ข้าวเม่า มาคั่วให้สุกพอประมาณ แล้วพักไว
2. นำกะทิมาเคี่ยวกับน้ำตาลปี๊บ จนน้ำตาลละลาย จากนั้นใส่แบะแซลงไปผสม เคี่ยวให้ส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน หรือจนเหนียวข้นเป็นยางมะตูม
3. ใส่ถั่วลิสง ข้าวตอก ข้าวเม่า งาขาวที่คั่วเตรียมไว้ลงไปผสมในน้ำกะทิ เคี่ยวไปเรื่อยๆโดยใช้ไฟอ่อน ประมาณ30 นาที
4. ตักใส่ถาดสี่เหลี่ยม พักไว้พออุ่น ตัดเป็นสี่เหลี่ยม พักไว้ให้เย็น

ฝอยทอง

 ฝอยทอง




ส่วนผสม
* ไข่เป็ด 5 ฟอง
* ไข่ไก่ 5 ฟอง
* น้ำตาลทราย 2 1/2 ถ้วยตวง
* น้ำลอยดอกมะลิ 1 1/2 ถ้วยตวง (หรือน้ำเปล่า)
* ไข่น้ำค้าง 2 ช้อนโต๊ะ(ไข่ขาวส่วนที่เป็นน้ำใสๆ ที่ติดอยู่กับเปลือกด้านป้าน)
* น้ำมันพืช 1 ช้อนชา
* กรวยทองเหลืองหรือกรวยใบตอง (สำหรับโรยไข่ในกระทะ)
* ไม้แหลม (สำหรับตักและพับฝอยทองในกระทะ)
    วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน
  1. ต่อยไข่ไก่และไข่เป็ด เลือกเอาเฉพาะไข่แดง นำออกมากรองด้วยผ้าขาวบางเพื่อรีดเอาเยื่อออก
2. ผสมไข่แดง, ไข่น้ำค้างและน้ำมันพืชเข้าด้วยกัน คนจนผสมกันทั่ว
3. นำน้ำลอยดอกมะลิผสมกับน้ำตาลในกระทะทองเหลืองและนำไปตั้งไฟร้อนปานกลาง รอจนเดือด
4. นำส่วนผสมไข่แดงใส่ลงไปในกรวยและนำไปโรยในน้ำเชื่อมที่เดือด ทิ้งไว้ประมาณ 1 นาทีจนไข่สุกจึงใช้ไม้แหลม สอยขึ้นและพับให้เป็นแพตามต้องการ
5. จัดใส่จาน เสริฟเป็นของว่างทางเล่นในวันสบายๆ




ทองหยิบ , ทองหยอด

 ทองหยิบ , ทองหยอด




หากนึกถึงขนมไทยที่มีมาแต่โบราณ และเป็นที่รู้จักมากที่สุดเห็นทีจะหนี ขนมทองหยิบ ขนมทองหยอด เห็นจะไม่ได้ เพราะด้วยความหอมหวานของเนื้อขนมทำให้พลาดไม่ได้ที่จะหยิบใส่ปาก เอาหละเรามาดูกันว่า ทองหยิบทองหยอด เขาทำกันอย่างไร
ส่วนผสมทองหยอด
ไข่เป็ด 12 ฟอง
แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วยตวง
ส่วนผสมน้ำเชื่อมสำหรับทองหยอด
น้ำตาลทราย 8 ถ้วยตวง
หรือ 1 กิโลกรัม 8 ขีด
น้ำเปล่า 4 ถ้วยตวง
หรือ 8 ขีด
ส่วนผสมน้ำเชื่อมหล่อ
น้ำตาลทราย 4 ถ้วยตวง
น้ำลอยดอกมะลิ 4 ถ้วยตวง
ส่วนผสมทองหยิบ
ไข่เป็ด 10 ฟอง
ส่วนผสมน้ำเชื่อมสำหรับหยอด
น้ำตาลทราย 8 ถ้วยตวง
น้ำเปล่า 4 ถ้วยตวง
ส่วนผสมน้ำเชื่อมหล่อ
น้ำตาลทราย 4 ถ้วยตวง
น้ำลอยดอกมะลิ 4 ถ้วยตวง
วิธีทำ ทองหยอด
1.แยกไข่เฉพาะไข่แดง แล้วใช้ไม้ตีไข่ตีจนไข่ขึ้นฟองฟู ตีประมาณ 8 นาที นำแป้งข้าวเจ้า มาร่อนประมาณ 1–2 ครั้ง ผสมกับไข่ที่ตีแล้ว โดยใส่แป้งลงไปทีละน้อย ใช้ช้อนค่อยๆคน ใส่สีแสด ให้เหมือนกับสีไข่ไก่
2.นำ น้ำตาลทราย 8 ถ้วยตวงผสมน้ำเปล่า 4 ถ้วยตวง ยกขึ้นตั้งไฟคนให้น้ำตาลละลายกรองด้วยผ้าขาวบาง แบ่งน้ำเชื่อมออกเป็น 3 ส่วน แบ่ง 2 ส่วนเอาไว้หยอด อีก 1 ส่วนสำหรับแช่ที่หยอดเสร็จแล้ว นำน้ำเชื่อม 2 สวนที่แบ่งไว้ขึ้นตั้งไฟให้เดือดจนฟู
3.นำไข่ที่ผสมแล้วมา หยอดเป็นเม็ด ใช้นิ้วกลางป้ายแล้วสลัดด้วยน้ำหัวแม่มือ หรือใช้สลัดด้วยช้อนก็ได้ หยอดไปจนแป้งที่เตรียมไว้หมด ปล่อยให้สุก ถ้าสุกแป้งจะลอยขึ้นตักลงแช่น้ำเชื่อมที่แบ่งไว้
วิธีทำทองหยิบ
แยกไข่ใช้เฉพาะไข่แดง ใช้ไม้ตีไข้ตีประมาณ 4 นาที นำน้ำตาลทราย 8 ถ้วยตวง ผสมกับน้ำเปล่า 4 ถ้วยตวงตั้งไฟให้น้ำตาลละลาย กรองด้วยผ้าขาวบาง แล้วแบ่งน้ำเชื่อม 2 ส่วนตั้งไฟให้เดือดจนฟู พอที่จะหยอดได้ แล้วยกขึ้นจากเตา ใช้ช้อนตักไข่ที่เตรียมไว้ หยอดให้เป็นวงกลมๆ เต็มกะทะ แล้วยกขึ้นตั้งไฟจนเดือด ตักขึ้น ใส่ลงแช่ในน้ำเชื่อมที่เตรียมไว้ แล้วจึงตักขึ้นมาหยิบเป็นดอก