วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ขนมไทย คืออะไร ?

ขนมไทย  คืออะไร?



เอกลักษณ์ของขนมไทย
ขนมไทย มี เอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยคือ มีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำ ที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทานที่ปราณีตบรรจงของขนมแต่ละชนิด ซึ่งยังแตกต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้นๆ





ความหมายของขนมไทย

ขนมไทย 
หมายถึง ของว่างหรืออาหารรองท้องของชาวไทย จัดอยู่ในประเภทอาหารคาวอาหารหวาน
ซึ่งมีให้เลือกหลากรูปแบบนานาชนิด จุดกำเนิดของขนมไทยคือการรวมตัวของวัฒนธรรมนานาชาติ
ในตั้งแต่สมัยโบราณจนเกิดเป็นขนมไทยขึ้น จนในยุคปัจจุบันก็ยังมีข้อพิพากษ์เรื่องขนมไทย จริงๆแล้ว
เป็นแนวคิดของคนไทยรึเปล่า แต่ถ้าหากดูใช้เจนแล้วด้วยความรวมตัวผสมผสานความเป็นชาติต่างๆ
ในสากลโลกแล้ว นั่นแหละคือความเป็นไทยที่ชัดเจนที่สุด 

THAI DESSERT 
noun
the sweet course eaten at the end of a meal : a dessert of chocolate mousse.
ORIGIN mid 16th cent.: from French, past participle of desservir ‘clear the table,’ from des- (expressing removal) + servir ‘to serve.’
ประเภทของขนมไทย
แบ่งตามวิธีการทำให้สุกได้ดังนี้

  • ขนม ที่ทำให้สุกด้วยการกวน ส่วนมากใช้กระทะทอง กวนตั้งแต่เป็นน้ำเหลวใสจนงวด แล้วเทใส่พิมพ์หรือถาดเมื่อเย็นจึงตัดเป็นชิ้น เช่น ตะโก้ ขนมลืมกลืน ขนมเปียกปูน ขนมศิลาอ่อน และผลไม้กวนต่างๆ รวมถึง ข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวแก้ว และกะละแม
  • ขนม ที่ทำให้สุกด้วยการนึ่ง ใช้ลังถึง บางชนิดเทส่วนผสมใส่ถ้วยตะไลแล้วนึ่ง บางชนิดใส่ถาดหรือพิมพ์ บางชนิดห่อด้วยใบตองหรือใบมะพร้าว เช่น ช่อม่วง ขนมชั้น ข้าวต้มผัด สาลี่อ่อน สังขยา ขนมกล้วย ขนมตาล ขนมใส่ไส้ ขนมเทียน ขนมน้ำดอกไม้
  • ขนม ที่ทำให้สุกด้วยการเชื่อม เป็นการใส่ส่วนผสมลงในน้ำเชื่อมที่กำลังเดือดจนสุก ได้แก่ ทองหยอด ทองหยิบ ฝอยทอง เม็ดขนุน กล้วยเชื่อม จาวตาลเชื่อม
  • ขนม ที่ทำให้สุกด้วยการทอด เป็นการใส่ส่วนผสมลงในกระทะที่มีน้ำมันร้อนๆ จนสุก เช่น กล้วยทอด ข้าวเม่าทอด ขนมกง ขนมค้างคาว ขนมฝักบัว ขนมนางเล็ด
  • ขนม ที่ทำให้สุกด้วยการนึ่งหรืออบ ได้แก่ ขนมหม้อแกง ขนมหน้านวล ขนมกลีบลำดวน ขนมทองม้วน สาลี่แข็ง ขนมจ่ามงกุฏ นอกจากนี้ อาจรวม ขนมครก ขนมเบื้อง ขนมดอกลำเจียกที่ใช้ความร้อนบนเตาไว้ในกลุ่มนี้ด้วย
  • ขนม ที่ทำให้สุกด้วยการต้ม ขนมประเภทนี้จะใช้หม้อหรือกระทะต้มน้ำให้เดือด ใส่ขนมลงไปจนสุกแล้วตักขึ้น นำมาคลุกหรือโรยมะพร้าว ได้แก่ ขนมถั่วแปบ ขนมต้ม ขนมเหนียว ขนมเรไร นอกจากนี้ยังรวมขนมประเภทน้ำ ที่นิยมนำมาต้มกับกะทิ หรือใส่แป้งผสมเป็นขนมเปียก และขนมที่กินกับน้ำเชื่อมและน้ำกะทิ เช่น กล้วยบวชชี มันแกงบวด สาคูเปียก ลอดช่อง ซ่าหริ่ม






ข้อสรุปเรื่องความหมายและเอกลักษณ์ของขนมไทย

      ขนมไทยเป็นส่วนนึงที่แสดงค่าความเป็นชาตินิยมของไทย เราคนไทยจึงควรหันกลับมาอนุรักษ์รักษาความเป็นไทย ด้วยการเริ่มจากการศึกที่มาของขนมไทย และรู้จักขั้นตอนกันทำ ส่วนผสม และสอนต่อลูกหลานชาวไทยสืบต่อกันไปหัวข้อของบล๊อคนี้ได้พูดถึงความรู้จาก หนังสือและการสอบถามความคิดเห็นจากคนที่รับประทานขนมไทยมากันซึ่งก็พบว่าจาก การสำรวจบุคคลทั่วไปนั้นมีค่านิยมในการบริโภคขนมไทยยังคงน้อยอยู่ เพราะด้วยความที่จุดจำหน่ายและบรรจุภัณ ยังไม่มีความน่าสนใจพอที่จะให้ซื้อ เท่าขนมเคก หรือขนมจากต่างชาติ  
   ดังนั้นดิฉันในฐานะคนสำรวจข่้อมูลเหล่านี้ จึงอยากบอกถึงความเป็นมาของขนมไทย และความน่าทึ่งของขนมไทยให้กับคนที่สนใจ ได้เข้ามาศึกษาข้อมูลการวิจัยนี้ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และร่วมกันสานต่อความเป็นไทย ด้วยการเห็นคุณค่าของขนมไทยพร้อมกลับมาบริโภคสินค้าไทย ให้เศรษฐกืิจไทยได้หมุนเวียนนั้นเองค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น